โควิด-19 (โคโรนาไวรัส)
โควิด-19 คือโรคติดต่อที่เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่มีผู้ติดเชื้อคนแรกที่ทราบในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม 2019
อาการของโควิด-19 ได้แก่ ไข้ ไอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น เสียการรับรส อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อจำนวนประมาณหนึ่งในสามไม่มีอาการ อาการจะเริ่มต้น 1 ถึง 14 วันหลังจากรับเชื้อ แต่จะยังคงแพร่เชื้อได้ถึง 21 วัน
โควิด-19 ติดต่อผ่านอนุภาคหรือฝอยละอองในอากาศที่มีเชื้อผ่านการจามหรือไอ โดยเฉพาะในระยะใกล้ (2 เมตร/6 ฟุต) ความเสี่ยงการติดต่อในอาคารนั้นสูงกว่า แม้จะมีระยะทางไกลกว่าก็ตาม
มาตรการป้องกันได้แก่ การฉีดวัคซีน การสวมหน้ากากปิดปากและจมูก มาตรการการเว้นระยะห่าง (เช่น การอยู่คนเดียว การกักตัว การเว้นระยะทางสังคม) การระบายอากาศภายในอาคาร การทำความสะอาด/รักษาสุขอนามัยของมือที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก หรือปาก
ข้อมูลเพิ่มเติม:
โรคระบาดใหญ่ไวรัสโคโรนา (โควิด-19)(WHO)
ฝีดาษลิง
ฝีดาษลิงคือโรคติดต่อเชื้อไวรัสที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งคล้ายคลึงกับไวรัสวาริโอลาที่ทำให้เป็นโรคไข้ทรพิษ
อาการ ได้แก่ ไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม ปวดกล้ามเนื้อ และผื่นที่มีตุ่มน้ำแล้วตกสะเก็ด โดยเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 5 ถึง 21 วันหลังจากได้รับเชื้อ และโดยปกติอาการจะคงอยู่ไป 2 ถึง 4 สัปดาห์ แม้ว่าโรคฝีดาษลิงนั้นมักจะไม่รุนแรง โดยที่คนส่วนมากจะหายภายในไม่กี่สัปดาห์โดยไม่ต้องรับการรักษา ผู้ป่วยจะยังแพร่เชื้อได้นานกว่าหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่แผลจากโรคตกสะเก็ดแล้ว
ฝีดาษลิงอาจแพร่จากสัตว์ที่ติดเชื้อได้ผ่านการกัด/ข่วน หรือการสัมผัสเนื้อที่ติดเชื้อ การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์เกิดขึ้นได้ผ่านการสัมผัสฝอยละอองขนาดเล็กของสารคัดหลั่งจากร่างกาย การแพร่เชื้อทางอากาศอาจเกิดขึ้นได้
แม้จะไม่มีวิธีรักษา วัคซีนฝีดาษลิงอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดได้สูงสุดถึง 85% และยังช่วยลดความรุนแรงของอาการอีกด้วย มาตรการป้องกันรวมถึงการล้างมือเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้คนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ
ข้อมูลเพิ่มเติม:
โรคฝีดาษลิง (WHO)
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออาการอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรังของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส
อาการทั่วไปได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ และคอแข็ง อาการอื่น ๆ ได้แก่ อาการสับสน การรู้สึกตัวที่เปลี่ยนแปลงไป คลื่นไส้ อาเจียน และทนแสงและเสียงดังได้น้อย โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจส่งผลเสียระยะยาวอย่างรุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ หรือภาวะบกพร่องของการรู้คิด โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดต่อผ่านทางฝอยละอองระหว่างการสัมผัสใกล้ชิด (เช่น การจูบ จาม ไอ) แต่โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถติดต่อผ่านการหายใจรับอากาศที่มีเชื้อเข้าไปอย่างเดียวได้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสมักติดต่อผ่านทางอุจจาระที่ติดเชื้อ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางรูปแบบสามารถป้องกันได้โดยการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน หรือโดยการป้องกันด้วยการใช้ปฏิชีวนะในระยะสั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม:
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (WHO)